ลักษณะของพลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy) คือ พลังงานที่ปลดปล่อยออกมา เมื่อมีการแยกรวม หรือแปลงนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ซึ่งพลังงานเหล่านั้นอาจเป็น “พลังงานความร้อน” และ “รังสี”
ในส่วนของ “พลังงานความร้อน” เราสามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้ โดยนำความร้อนที่ได้ไปต้มน้ำให้เดือด และนำไอน้ำที่ได้ไปปั่นกังหันไอน้ำที่เชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ส่วน “รังสี” เป็นพลังงานที่แผ่กระจายจากต้นกำเนิดออกไปในอากาศหรือตัวกลางใดๆ ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมไปถึงกระแสอนุภาคที่มีความเร็วสูงด้วย พลังงานนิวเคลียร์ เป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อนำพลังงานจากอะตอมของสสารมาใช้งาน โดยอาศัยเตาปฏิกรณ์ปรมาณู แม้ว่าในปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ที่มีการนำมาใช้ จะได้มาโดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบแตกตัวเพียงอย่างเดียว แต่ในอนาคตอาจจะสามารถนำประโยชน์จากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบอื่นมาใช้ได้ เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบรวมตัว พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู จะใช้ในการต้มน้ำเพื่อผลิตไอน้ำที่จะใช้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานกลสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าหรือจุดประสงค์อื่น
พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอนซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน
พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งใช้แทนกันกับคำว่า พลังงานปรมาณู นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ยังครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอกซ์ด้วย (พ.ร.บ. พลังงานเพื่อสันติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2508) พลังงานนิวเคลียร์ สามารถปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน รังสีแกมมา อนุภาคเบต้า อนุภาคอัลฟา อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น
พลังงานนิวเคลียร์ หมายถึง พลังงานไม่ว่าลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสอะตอมโดย
1. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน
2. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
3. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น
4. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น
พลังงานนิวเคลียร์ฟิชชั่น (Nuclear fission) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอม แตกตัวออกเป็นส่วนเล็กๆ สองส่วนในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น เมื่อนิวตรอนชนเข้ากับนิวเคลียสของธาตุที่สามารถแตกตัวได้ เช่น ยูเรเนียม หรือพลูโตเนียม จะเกิดการแตกตัวเป็นสองส่วนกลายเป็นธาตุใหม่ พร้อมทั้งปลดปล่อยอนุภาคนิวตรอนและพลังงานจำนวนมากออกมา อนุภาคนิวตรอนที่ถูกปลดปล่อยออกมา สามารถวิ่งไปชนกับอะตอมข้างเคียงเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น และปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคนิวตรอนอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น (Nuclear fusion) ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ คือกระบวนการที่นิวเคลียสอะตอมหลายตัวมารวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสอะตอมที่หนักขึ้น และเกิดการปลดปล่อยหรือดูดซับพลังงานในกระบวนการนี้ นิวเคลียสของเหล็กและนิกเกิลมีพลังงานพันธะต่อนิวคลีออนสูงมาก ฟิวชั่นของนิวเคลียสทั้งสองชนิดกับธาตุอื่นที่มีมวลน้อยกว่าเหล็กจะทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมารุนแรงกว่าที่เหล็กจะดูดซับพลังงานไว้ กระบวนการที่ดำเนินไปในทางกลับกันนี้จะเรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear fission)
ประวัติของพลังงานนิวเคลียร์
สมัยขึ้นศตวรรษที่ 20 คือ
ปี ค.ศ. 1895 ที่ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน (Wilhelm
Konrad Rontgen) ค้นพบรังสีเอกซ์
และตามมาด้วยการค้นพบกัมมันตภาพรังสีเมื่อปี ค.ศ. 1896 โดย
อองตวน-อองรี แบ็กเกอแรล (Antoin-Henry Becquerel) แต่ถ้ากล่าวถึงยุคสมัยของพลังงานนิวเคลียร์โดยทั่วไป
จะหมายถึงยุคของการปลดปล่อยพลังงานอะตอมจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1942
จากการเริ่มต้นทำงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องแรกของโลก คือ ชิคาโกไพลื-1
(Chicago Pile-1) การเริ่มต้นของยุคพลังงานนิวเคลียร์หรือยุคปรมาณู
เมื่อปี ค.ศ. 1942
เป็นการเริ่มต้นอย่างเงียบเชียบสำหรับคนทั่วไปทั้งโลก
เพราะเกิดขึ้นภายใต้ภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) และการดำเนินงานอย่างลับ ๆ ของโครงการปลดปล่อยพลังงานอะตอม
เพื่อนำสู่การสร้างลูกระเบิดนิวเคลียร์เป็นครั้งแรกยุคพลังงานนิวเคลียร์หรือยุคปรมาณูระเบิดขึ้นอย่างสนั่นไปทั่วโลก
เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งลูกระเบิดนิวเคลียร์ถล่มเมืองฮิโรชิมา (วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945) และเมืองนางาซากิ (วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945)
หลังสงครามโลกครั้งที่สองวงการวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์หันมาทุ่มเทความพยายามในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ให้เกิดประโยชน์เพื่อมวลมนุษยชาติ
ซึ่งมักจะเรียกรวม ๆ กันว่าเป็นการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
หรืออะตอมเพื่อสันติ มนุษย์ได้เห็นประโยชน์อันหลากหลายของพลังงานนิวเคลียร์ต่อวงการต่าง
ๆ มากมาย โดยเป็นการใช้ประโยชน์ของกัมมันตภาพรังสีจากไอโซโทปรังสี
ตามมาด้วยความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ในการสร้างและควบคุมพลังงานนิวเคลียร์จากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิชชัน
ดังเช่น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตความร้อนและกัมมันตภาพรังสี
เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ นำไปสู่โรงไฟฟ้าแบบใหม่
คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
และทำให้เกดยานพาหนะแบบใหม่ที่ปฏิบัติภารกิจได้เป็นเวลายาวนานโดยไม่ต้องนำเชื้อเพลิงไปด้วยปริมาณมาก
คือ เรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งเรือดำนำ เรือทางด้านการทหาร
และเรือปฏิบัติภารกิจในสภาวะที่ขาดแคลนเชื้อเพลิงจำพวกน้ำมัน เช่น
เรือตัดน้ำแข็งในแถบขั้วโลก
โรงฟ้านิวเคลียร์และเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์
ทำให้ยุคของพลังงานนิวเคลียร์หรือยุคปรมาณูเปลี่ยนโฉมหน้าประชาคมโลกคลายความหวาดกลัวพลังงานนิวเคลียร์ลงมาก
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แห่งแรกของโลก
อยู่ที่เมืองอ็อบนินสค์ (Obninsk) ประเทศรัสเซีย
เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1954 ส่วนเรือดำน้ำที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของโลก ชื่อ
ยูเอสเอสนอติลุส (USS Nautilus) เป้นของสหรัฐอเมริกา
เริ่มใช้งานเมื่อปี ค.ศ. 1954
หลังจากประเทศทั่วโลกก็เปิดตัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามมา
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1945 ถึงปี ค.ศ. 1979
พลังงานนิวเคลียร์อยู่ในกระแสทั้งด้านสันติและการทหาร ทางด้านการทหาร
หลายประเทศเริ่มเข้าร่วมกลุ่มประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ตามสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเริ่มมีอาวุธนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1945 ตามมาด้วย
สหภาพโซเวียต (เดิม) หรือรัสเซียในปัจจุบัน
ซึ่งทดลองลุกระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกปี ค.ศ. 1949
อังกฤษเป็นประเทศที่สาม (ค.ศ. 1952) ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่สี่
(ค.ศ. 1960) จีนเป็นประเทศที่ห้า (ค.ศ. 1964) อินเดียเป็นประเทศที่หก (ค.ศ. 1974) ตามมาด้วยปากีสถานเป็นประเทศที่เจ็ด
(ค.ศ. 1998) และล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2006
เกาหลีเหนือก็ทดลองลูกระเบิดนิวเคลียร์สำเร็จเข้าร่วมกลุ่มประเทสมีอาวุธนิวเคลียร์เป็นประเทศที่แปดอย่างเป็นทางการ
ส่วนอิสราเอลเป็นประเทศที่ไม่เคยรับอย่างเป็นทางการว่ามีลกระเบิดนิวเคลียร์
แต่เชื่อกันว่า อิสราเอลก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีอาวุธนิวเคลียร์ โดยอาจมีตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1979
อาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวนี้เป็น ลูกระเบิดอะตอม (Atomic bomb) ซึ่งหมายถึงลูกระเบิดนิวเคลียร์ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิชชัน
การสะสมนิวเคลียร์ของประเทศต่าง ๆ
ทำให้สถานการณ์ของโลกร้อนแรงขึ้นด้วยความหวาดกลัวสงครามนิวเคลียร์และยิ่งทวีขึ้นเมื่อประเทศต่าง
ๆ เริ่มสะสมอาวุธนิวเคลียร์แบบฟิวชัน
ซึ่งเป็นลูกระเบิดนิวเคลียร์ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชัน แต่จุดระเบิดด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิชชันหรือเรียกกันทั่วไปว่า
ลูกระเบิดไฮโดรเจน (hydrogen bomb)
สิ่งที่เป็นปัจจัยกระแสหวนกลับของพลังงานนิวเคลียร์
โดนเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิชชัน
คือปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ในขณะที่ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้านิวเคลียร์ลดต่ำลงมาก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อน (global
warming) ที่เกิดจากการใช้ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และแก๊สธรรมชาติ
ในขณะที่เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นปลอดภัยขึ้น ทั้งต่อชีวิตมนุษย์และสภาพแวดล้อม
การนำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์
ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์มีดังนี้
1. การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ (Electricity
Generation by Nuclear Power) พลังงานส่วนใหญ่ที่เรานำมาใช้งาน ผลิตขึ้นโดยใช้ทรัพยากร
หรือแหล่งพลังงาน ที่มาจากธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน กาซธรรมชาติ น้ำมัน น้ำ ลม
แสงอาทิตย์ และนิวเคลียร์ บางส่วนของพลังงานเหล่านี้ ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
และนำไปใช้ด้านอื่น เช่น การขนส่ง โรงไฟฟ้าใช้ความร้อนหรือแรงขับเคลื่อนจากพลังงานเหล่านี้
ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งที่สะอาดที่สุด
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ พลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการต้มน้ำเพื่อผลิตไอน้ำ
และใช้แรงดันไอน้ำในการหมุนกังหัน ซึ่งใช้แกนเดียวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)
ที่เป็นขดลวดขนาดใหญ่ วางอยู่ระหว่างแท่งแม่เหล็ก
การหมุนของขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า
ข้อแตกต่างหลักของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น
คือแหล่งความร้อนที่ใช้ผลิตไอน้ำ ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ได้ความร้อนมาจากปฏิกิริยาการแตกตัวของอะตอมของธาตุ ขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้ น้ำมัน
กาซธรรมชาติ หรือถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิง ใช้วิธีการเผาไหม้เชื้อเพลิง
ในการผลิตความร้อน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่ในสหรัฐอเมริกา
มี 2 ชนิด ได้แก่ โรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น้ำความดันสูง
(pressurized water reactor, PWR) และ
โรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (boiling water
reactor, BWR) ทั้งเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ BWR และ
PWR ผลิตความร้อนออกมา ด้วยวิธีการเดียวกัน โดยน้ำเดือดจากเครื่องปฏิกรณ์ฯ
จะกลายเป็นไอและส่งไปขับกังหัน ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
จากนั้นจะถูกควบแน่นให้กลับเป็นน้ำ และปั๊มกลับเข้าสู่เครื่องปฏิกรณ์ฯ
เพื่อรับความร้อนทำให้กลายเป็นไอน้ำอีกครั้ง สิ่งที่แตกต่างกันคือ
ในเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ BWR น้ำจะถูกทำให้เดือดและกลายเป็นไอขณะที่ผ่านแกนเครื่องปฏิกรณ์ฯ
ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ฯ แบบ PWR น้ำที่ผ่านแกนเครื่องปฏิกรณ์จะไม่เดือด
เนื่องจากอยู่ในระบบปิดที่มีความดันสูง
ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนให้ระบบผลิตไอน้ำในส่วนที่แยกออกจากระบบของเครื่องปฏิกรณ์ฯ
เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบอื่น
มีใช้อยู่ในต่างประเทศ เช่น (pressurized heavy water reactor, PHWR
หรือ CANDU) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตโดยแคนาดา
ใช้เชื้อเพลิงเป็นยูเรเนียมธรรมชาติ ถ่ายเทความร้อนโดยใช้น้ำมวลหนัก (heavy
water)
ความปลอดภัยเป็นปัจจัยหลักที่ผู้รับผิดชอบเครื่องปฏิกรณ์ต้องคำนึงถึง
เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยต่อสาธารณชน
ความปลอดภัยต่อผู้ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ฯ และต่อผู้ลงทุน
ดังนั้นการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
จึงต้องมีการพัฒนาให้อยู่ในมาตรฐานอุตสาหกรรม
มาตรฐานอุตสาหกรรมพัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้การดูแลขององค์กรวิชาชีพ
เช่น สมาคมวิศวกรรมเครื่องกล (American Society of Mechanical Engineers) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรบานที่ดีที่สุด ในการออกแบบ การก่อสร้าง
และการปฏิบัติงาน ซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนาหลายสิบปี การก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
มีหลายขั้นตอน ต้องคัดเลือกสถานที่ที่เหมาะสม
ต้องออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ให้เหมาะสมกับสถานที่ก่อสร้าง
ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนขณะที่ทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
การทดสอบเดินเครื่องที่กำลังต่ำ และสุดท้ายเดินเครื่องเต็มกำลัง แต่ละขั้นตอน
ผู้ออกแบบต้องมั่นใจว่ามีการปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัย นอกจากนั้น หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต (Nuclear
Regulatory Commission, NRC) จะตรวจสอบแต่ละกระบวนการ
และประเด็นในการขออนุญาต โดยจะให้การอนุญาตเป็นรายประเด็น ตามความก้าวหน้าของงาน
เมื่อไม่นานมานี้ NRC ได้มีการทบทวนมาตรฐานอุตสาหกรรม
และได้ออกข้อกำหนดฉบับใหม่ ซึ่งมาตรฐานที่ออกโดย NRC มีฐานะเทียบเท่ากับกฎหมาย
ทั้งนี้เพื่อให้เชื่อมั่นว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ก่อสร้างใหม่ทุกโรง
จะมีกระบวนการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด
ไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญกับเรา
โดยเป็นสิ่งที่ใช้ช่วยเพิ่มการผลิต ใช้ในสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้เกิดความปลอดภัย
ใช้ด้านสุขภาพ และในทางเศรษฐกิจ
เราใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าในชีวิตประจำวันได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
เพียงแต่เสียบปลั๊กของอุปกรณ์ของเราเข้ากับปลั๊กที่ผนังก็จะได้ไฟฟ้าออกมา
คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงว่าไฟฟ้ามาจากไหน
ซึ่งการผลิตไฟฟ้าสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการใช้ถ่านหิน น้ำมัน กาซธรรมชาติ
พลังน้ำ นิวเคลียร์ และแสงอาทิตย์ แต่ละทางเลือกได้มีความก้าวหน้าที่แตกต่างกัน
จึงต้องมีการพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย ก่อนที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าโรงใหม่
การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า
มีจุดเด่นตรงที่สามารถรองรับความต้องการที่กำลังมาถึงในกระบวนการผลิตไฟฟ้า
คือการที่พลังงานนิวเคลียร์ สามารถสนองตอบต่อปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย
เศรษฐศาสตร์ ความเชื่อมั่น ความมั่นคง รวมทั้งการจัดการกาก
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นการผลิตไฟฟ้าที่มีความประหยัดมากที่สุดวิธีหนึ่ง
ต้นทุนของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งของศักยภาพในการผลิตไฟฟ้า
มีค่าค่ำกว่าต้นทุนของเชื้อเพลิงฟอสซิล
ถ้ารวมต้นทุนจากการลงทุนและส่วนประกอบอื่นทั้งหมดแล้ว
ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
จะใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่า โดยเฉลี่ยการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์
มีต้นทุนต่ำที่สุด ในปี 1999 ต้นทุนเฉลี่ยของการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์
อยู่ที่ 1.83 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 2.07
เซนต์ โรงไฟฟ้าใช้น้ำมัน 3.24 เซนต์
และโรงไฟฟ้าใช้กาซธรรมชาติ 3.52 เซนต์
ส่วนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
ยังมีต้นทุนที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ต้นทุนที่เกิดจากมาตรการควบคุมของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานิวเคลียร์นั้น
สูงกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยแหล่งพลังงานอื่น แต่ก็สามารถทำให้ลดลงได้
โดยทำให้เกิดความเชื่อมั่น
ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา
ปัจจุบันโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องโดยเฉลี่ยสูงกว่า 75% ของสมรรถนะ
(capacity factors) ที่มีอยู่ ซึ่งสามารถแข่งขันได้กับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ ออกแบบมาให้เดินเครื่องตามที่กำหนด
ทำให้ต้องเดินเครื่องเต็มกำลัง ไม่ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเป็นเท่าใด
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีความเหมาะสมกว่าในกรณีที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าไม่คงที่
เนื่องจากได้รับการออกแบบมา
ให้ผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงและสามารถปรับลดกำลังการเดินเครื่องลงได้
และสามารถเดินเครื่องต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเติมเชื้อเพลิงเป็นเวลา 2
ปี ความเจริญในอนาคตจะขึ้นกับการผลิตไฟฟ้าที่ไม่จำกัด เห็นได้ชัดว่า
เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นมีจำกัด จากประมาณการ เชื้อเพลิงฟอสซิลจะใช้ไปได้อีกไม่เกิน 100
ปี แต่ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว อาจจะเป็นเวลาที่น้อยกว่านี้มาก
และเห็นได้ชัดว่า พลังงานลม แสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียน เช่น เอทานอล
นั้นยังมีความไม่แน่นอน ในการสนับสนุนการใช้พลังงานของโลก
ส่วนศักยภาพในการผลิตพลังงานของยูเรเนียมปริมาณเล็กน้อยนั้นสูงมาก
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จึงสามารถอยู่ในลำดับที่จะนำมาใช้ ถ้ามีการจัดรูปแบบที่ดี
พลังงานนิวเคลียร์สามารถใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้แก่เราได้อีกหลายรุ่น
การจัดรูปแบบที่ดี คือการใช้ (Breeder Reactor) การออกแบบ เมื่อมีการใช้เชื้อเพลิงไปจะมีเชื้อเพลิงชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเป็นผลพลอยได้
ปัจจุบัน มีการสร้าง Breeder Reactor ไม่กี่โรงเท่านั้น
พลูโตเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำอาวุธนิวเคลียร์
คือเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้าแบบนี้
รัฐบาลจึงยังลังเลที่จะอนุมัติให้มีการก่อสร้าง แต่กระนั้น โดยหลักการของ Breeder
Reactor แล้ว สามารถลดราคาของเชื้อเพลิงให้ต่ำลงมาก
การพยายามที่จะหาทางสกัดยูเรเนียมออกจากน้ำทะเล
ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงจึงอาจมาจำเป็น จากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร American
Journal of Physics (vol. 51, Jan. 1983, B. Cohen) รายงานว่า
มีปริมาณยูเรเนียมทั้งโลก ทั้งในน้ำทะเลและที่เปลือกโลก ให้ใช้ไปได้ประมาณ 5
พันล้านปี โดยประมาณการว่ามีการใช้ยูเรเนียม 6,500 เมตริกตันต่อปี จึงถือเป็นแหล่งพลังงานที่มั่นคง สำหรับการนำมาใช้งาน
การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์
ไม่ได้มีเพียงในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่พัฒนาทั่วโลกก็มีการใช้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชน นอกจากนั้น
การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนิวเคลียร์ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
ถ้าพูดถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากภาวะโลกร้อน
และมลภาวะจากกาซที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ความต้องการพลังงานนิวเคลียร์
จึงยังคงมีสูงอย่างต่อเนื่อง และจะสูงขึ้นมากใน 10 ปีข้างหน้าจากสถิติของระบบข้อมูลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
(Power Reactor Information System) ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
(International Atomic Energy Agency) ชี้ให้เห็นว่า ในปี 1999
มีการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 436 โรง ใน 32
ประเทศทั่วโลก ซึ่งได้รวมถึงจำนวน 104 โรง
ที่ใช้งานอยู่ใน 32 รัฐของสหรัฐอเมริกาขณะที่อเมริกากำลังโอ้อวดว่า
มีจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุด แต่ปรากฏว่า กระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นได้
น้อยกว่า 20% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั่วสหรัฐอเมริกา
และหลายประเทศใช้พลังงานนิวเคลียร์มากกว่าสหรัฐ
จากการจัดอันดับประเทศที่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ 15 ประเทศ
ในปี 1999 ประเทศฝรั่งเศส
มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้า 75% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด
ประเทศเบลเยียม 58% สวีเดน 47% เกาหลีใต้
43% ฮังการี 38% สวิสเซอร์แลนด์ 36%
เยอรมัน 31% ญี่ปุ่น 36% ฟินแลนด์ 33% สเปน 30% อังกฤษ 29%
สาธารณรัฐเชค 20% สหรัฐอเมริกา 19% แคนาดา 13% เมกซิโก 5% และ
เนเธอร์แลนด์ 4%
2.
การใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในอุตสาหกรรม มีการนำวัสดุนิวเคลียร์เข้าไปประยุกต์ใช้ในหลายสาขา
ซึ่งโดยปกติแล้วไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันเลย โดยเฉพาะการใช้ไอโซโทปรังสี
ทั้งที่เป็นสารรังสีที่มีในธรรมชาติและที่ผลิตขึ้นมา
มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางอยู่ในเครื่องมือ เครื่องวัด และในการถ่ายภาพ
มีการนำไปใช้ในหลายสาขาทั้งในอุตสาหกรรมน้ำมัน โบราณคดี เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
และในผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน ส่วนสำคัญที่เรานำมาใช้งานคือสารไอโซโทปรังสี
ซึ่งให้รังสีออกมา โดยมีคุณสมบัติในการเคลื่อนที่ทะลุผ่านวัสดุได้
แม้ว่าเราจะไม่เห็นรังสี แต่ก็สามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัด
ลักษณะเฉพาะของเทคนิคนี้ คือการวัดรังสีที่ทะลุผ่านวัตถุมาได้
การใช้ไอโซโทปรังสีในกระบวนการผลิตสามารถใช้ได้หลายวิธี
เทคนิคอย่างหนึ่งคือการตรวจวัดปริมาณ
เนื่องจากรังสีมีการสูญเสียพลังงานเมื่อเคลื่อนที่ผ่านวัสดุ
หลักการนี้สามารถนำไปใช้วัดเพื่อแสดงปริมาณว่า มีอยู่หรือไม่ระหว่างต้นกำเนิดรังสีกับหัววัดรังสี เมื่อวัดรังสีที่ผ่านวัสดุ
แล้วเปรียบเทียบกับค่าที่เคยวัดได้ซึ่งมีความหนาตามที่ต้องการ
ถ้ารังสีที่วัดได้มีค่าสูงแสดงว่ามีความหนาน้อยเกินไป
ถ้ารังสีที่วัดได้มีค่าต่ำแสดงว่ามีความหนามากเกินไป จุดเด่นของการวัดด้วยวิธีนี้คือ
ไม่มีการสัมผัสกับวัสดุที่ทำการวัด ตัวอย่าง เช่น เครื่องผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติก
ใช้ไอโซโทปรังสีในการวัดความหนา
โดยให้แผ่นฟิล์มวิ่งผ่านระหว่างต้นกำเนิดรังสีกับหัววัดรังสี
สัญญาณที่วัดได้จะถูกส่งไปควบคุมความหนาของแผ่นฟิล์ม
ทำให้การผลิตดำเนินไปอย่างต่อเนื่องความสูงของถ่านหินในตู้บรรทุก
สามารถหาได้โดยการใช้ต้นกำเนิดรังสีพลังงานสูง วางไว้ด้านตรงข้ามกับหัววัดรังสี
แล้วบีบลำรังสีให้โฟกัสเป็นลำแคบๆ ผ่านถ่านหินไปยังหัววัดรังสี
ถ่านหินที่ใส่ลงไปในตู้บรรทุก จนถึงระดับจะไปขวางลำรังสี
ทำให้สัญญาณที่หัววัดรังสีขาดหายไป งานในลักษณะที่เต็มไปด้วยฝุ่นนี้
ทำให้ไม่สามารถควบคุมด้วยลำแสงธรรมดาเมื่อลำรังสีตกกระทบวัตถุ
รังสีส่วนหนึ่งจะส่องผ่านไป อีกส่วนหนึ่งจะสะท้อนกลับมาในทิศทางเดิม
ปริมาณรังสีสะท้อนมีความสัมพันธ์กับปริมาณวัสดุ
หลักการนี้สามารถนำมาใช้ในวัดความหนาของวัสดุที่ใช้เคลือบผิว
การประยุกต์ใช้ไอโซโทปรังสีในการควบคุมกระบวนการผลิตอีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ การถ่ายภาพด้วยรังสีแกมมา กระบวนการนี้ใช้ไอโซโทปที่ให้รังสีแกมมา
เพื่อตรวจสอบจุดบกพร่องบนวัสดุ เช่น รอยร้าว รอยตำหนิ บนรอยเชื่อม
จุดเด่นของการถ่ายภาพด้วยรังสีแกมมา เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่น คือ
การที่รังสีแกมมาสามารถส่องทะลุผ่านวัตถุได้โดยไม่มีผลต่อตัวอย่าง
ให้ผลการถ่ายภาพรวดเร็ว ราคาถูก
สามารถทำได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องหยุดกระบวนการผลิตกระบวนการนี้คล้ายกับการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ของโรงพยาบาล
หรือการฉายภาพกระเป๋าเดินทางของสนามบิน สิ่งที่แตกต่างกันคือ
แทนที่จะใช้รังสีเอกซ์ การถ่ายภาพด้วยรังสีแกมมา ใช้ต้นกำเนิดรังสี
ที่มีความสามารถในการทะลุทะลวงเข้าไปในวัสดุได้ดีกว่า เช่น โคบอลต์-60
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้
ขณะที่การถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ ต้องป้อนกระแสไฟฟ้าในขณะใช้งาน การใช้ไอโซโทปรังสี
ให้ผลดีที่สุดในกรณีที่ต้องทำการตรวจสอบในพื้นที่และไม่มีกระแสไฟฟ้า
ต้นกำเนิดรังสีแกมมาเป็นไอโซโทปรังสีที่มีขนาดเล็กบรรจุอยู่ในแคปซูลไททาเนียม
ในการถ่ายภาพจะวางแคปซูลของต้นกำเนิดรังสีไว้ด้านหนึ่งของวัตถุ
และวางฟิล์มบันทึกภาพไว้ด้านตรงข้าม
รังสีแกมมาจะทะลุผ่านวัตถุไปทำให้เกิดภาพขึ้นบนฟิล์ม
คล้ายกับการที่รังสีเอกซ์แสดงให้เห็นภาพกระดูก
รังสีแกมมาจะแสดงจุดบกพร่องของโลหะหล่อ หรือรอยเชื่อม
เทคนิคนี้จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในการตรวจสอบรอยตำหนิ
ที่อยู่ภายในโดยไม่ต้องทำลายตัวอย่างเนื่องจากไอโซโทปรังสีสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
การถ่ายภาพด้วยรังสีแกมมาจึงมีประโยชน์ในการควบคุมระยะไกล ตัวอย่างเช่น
การตรวจสอบรอยเชื่อมของท่อที่ใช้ส่งกาซธรรมชาติหรือน้ำมัน เมื่อมีการเชื่อมแล้ว
จะวางฟิล์มแบบพิเศษติดเทปไว้รอบท่อที่ด้านนอก อุปกรณ์ที่เรียกว่า "pipe
crawler" จะเป็นตัวพาต้นกำเนิดรังสีพร้อมทั้งวัสดุกันรังสี
เข้าไปในท่อไปยังตำแหน่งที่มีการเชื่อม เมื่อถึงจุดที่ต้องการ
จะทำการถ่ายภาพรอยเชื่อม ด้วยรังสีจากต้นกำเนิดไปยังฟิล์มโดยการควบคุมระยะไกล
เมื่อผ่านกระบนการล้างฟิล์มจะได้ภาพที่แสดงรายละเอียดภายในของรอยเชื่อม
การอาบนิวตรอนเป็นวิธีการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณธาตุในตัวอย่างประเภทต่างๆ
หลายชนิด โดยมีความถูกต้องและเที่ยงตรงสูง
เทคนิคนี้เป็นตัวอย่างที่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ใช้ประโยชน์ของไอโซโทปรังสี
รวมทั้งนำมาใช้ช่วยในการสืบสวนอาชญากรรม วิธีการนี้ใช้หลักการตรวจวัดรังสีแกมมาจากไอโซโทปรังสี
ที่มาจากตัวอย่างที่นำไปอาบนิวตรอน
ซึ่งมีพลังงานที่เฉพาะในแต่ละธาตุตัวอย่างที่นำไปอาบนิวตรอน
จะทำให้ธาตุที่อยู่ในตัวอย่างนั้นมีกัมมันตภาพรังสีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง
การตรวจวัดรังสีที่แผ่ออกมา สามารถใช้วิเคราะห์ธาตุที่เป็นองค์ประกอบในตัวอย่างได้
โดยพลังงานของรังสีจะแสดงชนิดของธาตุ
และความเข้มของรังสีจะแสดงปริมาณธาตุที่มีอยู่ในตัวอย่าง
เนื่องจากแต่ละธาตุที่ทำปฏิกิริยากับนิวตรอน
จะกลายเป็นไอโซโทปรังสีที่มีพลังงานเฉพาะของแต่ละไอโซโทปการอาบนิวตรอนสามารถวิเคราะห์ได้ครั้งละหลายธาตุพร้อมกัน
โดยสามารถเลือกปรับพารามิเตอร์การวิเคราะห์ให้เหมาะสมที่สุดกับแต่ละธาตุ
โดยที่การวิเคราะห์ชนิดของธาตุได้มากขึ้น
ไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายหรือกระบวนการวิเคราะห์เพิ่มขึ้น
ในการวิเคราะห์โดยการอาบนิวตรอนโดยทั่วไป
สามารถหาปริมาณธาตุในตัวอย่างทางธรณีวิทยา เนื้อเยื่อของคน สัตว์หรือพืช ได้ประมาณ
40 ชนิดการอาบนิวตรอนสามารถวิเคราะห์ธาตุที่มีปริมาณน้อยมากๆ
ได้ มีของความไวในการวิเคราะห์ (sensitivity) ดีกว่าวิธีการที่ไม่ใช้นิวเคลียร์เทคนิค
โดยอยู่ในระดับของ parts per billion หรือดีกว่า
กระบวนการวิเคราะห์ทำให้สามารถให้ผลที่รวดเร็วกว่าและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าวิธีการที่ไม่ใช้นิวเคลียร์เทคนิคนอกจากนั้น
การอาบนิวตรอนยังใช้เป็นวิธีการอ้างอิง (referee method) ของวิธีการอื่นที่อาจมีการพัฒนากระบวนการขึ้นมาใหม่
หรือให้คำตอบที่ไม่สอดคล้องกัน
เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความถูกต้องและได้รับความเชื่อถือสูงการวิเคราะห์โดยการอาบนิวตรอนมีการใช้แพร่หลายทั่วโลก
แต่ละปีมีการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ ประมาณ 100,000 ตัวอย่าง
การใช้ไอโซโทปรังสีเป็นสารติดตาม
(Tracer) ไม่ได้มีใช้แต่ในทางการแพทย์แต่มีใช้ในทางอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน
สารรังสีติดตาม (radiotracer) ทีมีการให้รังสีแกมมาหรือรังสีบีตาออกมา
สามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดหลายชนิด ทั้งการวัดในพื้นที่ (in situ) และการเก็บตัวอย่างมาวัดในห้องปฏิบัติการ
ด้วยการวิเคราะห์สารติดตามที่เหมาะสม จะทำให้สามารถทราบเส้นทาง (pathway) ที่สารติดตามเคลื่อนที่ไปได้ ตัวอย่างเช่น
การใช้ไอโซโทปรังสีเป็นสารติดตามในการตรวจวัดมลภาวะในแม่น้ำ
เมื่อทราบกัมมันตภาพรังสี การละลาย และคุณสมบัติของสารติดตาม
รวมทั้งปริมาณและช่วงเวลาจะทำให้สามารถใช้หาเส้นทางของสารติดตามได้
3. เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพิ่มผลผลิตการเกษตร เทคโนโลยีนิวเคลียร์สามารถมีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
โดยการนำรังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพพันธุ์พืชเพื่อ เพิ่มผลผลิต
หรือ ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับประเทศไทยเองก็ได้มีการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์หลายชนิดแล้ว
ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งสามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี แตงโมเนื้อเหลืองพันธุ์ห้วยทรายทอง
ซึ่งมีเถาที่สั้นลง สามารถปลูกได้จำนวนมากขึ้นในพื้นที่ที่จำกัด
กระเจี๊ยบเขียวห้าเหลี่ยม ซึ่งสามารถต้านทางโรคเส้นใบเหลืองได้ดีขึ้น เป็นต้น
การใช้เทคนิคนิวเคลียร์นี้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม (Genetical
Modification: GM) ของพันธุ์พืช ซึ่งเป็นการตัดต่อยีน
แต่เป็นการเร่งเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงภายในเซลของพืชนั้นเกิดเร็วขึ้น
เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับและส่งเสริมจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
(Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ
FAO) และไม่ผิดกฎหมายในประเทศใด ๆ (หากเป็นอาหาร GM นั้น บางประเทศจะห้ามผลิตและนำเข้า) นอกจากนี้
รังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์ยังสามารถนำมาใช้ ลดปริมาณแมลงศัตรูพืช
โดยไม่มีสารพิษตกค้าง โดยการฉายรังสีเพื่อทำให้แมลงเป็นหมัน ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้
ซึ่งขณะนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
กำลังศึกษาเกี่ยวกับการนำมาประยุกต์ใช้กับสัตว์จำพวกปลวก สำหรับด้านอาหาร
การฉายรังสียังช่วยใน การถนอมอาหารและเก็บรักษาผลิตผล
ทางการเกษตรให้สามารถเก็บได้นานขึ้น และไม่ก่อให้เกิดสารตกค้าง
(ดังเช่นการใช้สารเคมีถนอมอาหาร) หรืออันตรายใด ๆ ต่อผู้บริโภค
4.
เทคนิคนิวเคลียร์กับการแพทย์ พลังงานนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่
การดูแลเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้ปลอดเชื้อ
โดยการใช้รังสีแกมมาไปทำให้จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์ตาย
ซึ่งสามารถใช้ได้กับเครื่องมือทางการแพทย์หลายชนิดด้วยกัน
ไปจนถึงการตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อให้การรักษาอย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
โดยการตรวจวินิจฉัยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ การฉายรังสีเอ็กซ์ (X-ray)
ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยี Computed Tomography (CT) ซึ่งเป็นการฉายรังสีสามารถสร้างภาพ 3 มิติของอวัยวะภายในร่างกายได้
โดยอาศัยความสามารถในการ “ดูดซับ” รังสีเอ็กซ์ที่แตกต่างกันของอวัยวะต่าง
ๆ ภายในร่างกาย
นอกจากนี้
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ยังถูกใช้อย่างแพร่หลายใน การบำบัดรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอก
โดยการใช้รังสีฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมากกว่า 10
ล้านคนต่อปี โดยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสูงในประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง
นั่นหมายความว่าการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น
จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มี
คุณภาพในราคาที่ถูกลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น